วันอังคารที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2550

โขน ชุด หนุมานจับนางสุพรรณมัจฉา




การแสดงชุดนี้อยู่ในการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ชุดจองถนนโดยดำเนินเรื่องว่า พระรามทรงใช้ให้สุครีพคุมพลวานรไปจองถนนเพื่อจะยกพลข้ามไปฝั่งลงกา ในขณะที่บรรดาพลวานรกำลังทุ่มหินถมลงในมหาสมุทรอยู่นั้น นางสุพรรณมัจฉาผู้เป็นราชธิดาของทศกัณฐ์พาฝูงบริวารปลามาคาบขนก้อนหินไป สุครีพสงสัยจึงสั่งให้หนุมานประดาน้ำลงไปสำรวจดู ได้พบนางสุพรรณมัจฉาจึงตรงเข้าไขว่คว้าโลดไล่จับนางสุพรรณมัจฉาได้สำเร็จ

เซิ้งตังหวาย



ตังหวาย รำ
เป็นการรำเพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือเพื่อขอขมา นายประดิษฐ์ แก้วจิณ ครูใหญ่โรงเรียน้านเจียด อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี ได้นำมาแสดงครั้งแรกที่ทุ่งศรีเมือง ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ต่อมา อาจารย์ศิริเพ็ญ อัตตะไพบูลย์ อาจารย์หัวหน้าภาควิชานาฎศิลป วิทยาลัยครูอุบลราชธานี เห็นสมควรจะส่งเสริม จึงได้เอาแบบไปดัดแปลงให้เหมาะสมกับกาลสมัย และเป็นที่นิยมแสดงกันอยู่ทุกวันนี้ เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง เครื่องดนตรีเดิมมีไม่กี่ชิ้น คือ แคน พิณ ซอ ไม้กรับ และต่อมา วิทยาลัยนาฎศิลปร้อยเอ็ด ได้นำเครื่องดนตรี คือโปงลางมาเพิ่มขึ้นอีก เพื่อความไพเราะสนุกสนานยิ่งขึ้น เวลาแสดงพวกหนึ่งดนตรี อีกพวกหนึ่ง รำตามทำนอง ส่วนอีกพวกหนึ่งรำตามบทคำร้อง ให้เข้าจังหวะสอดคล้องกัน ผู้ชมบางครั้งจะตบมือตามจังหวะ และใส่สร้อยให้เป็นจังหวะด้วยคำว่า เยือกเย็นซึ่งแปลว่าเป็นระเบียบพร้อมเพียง

เซิ้งสวิง


ตามความเข้าใจของคนทั่วไปคิดว่า รำหรือระบำ เป็นการร่ายรำหรือฟ้อนของคนภาคกลาง ฟ้อน เป็นการร่ายรำของคนภาคเหนือ เซิ้ง เป็นการร่ายรำของคนภาคอีสาน แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ การฟ้อนของภาคอีสานนั้นมีมานานและเรียกว่าฟ้อนมาโดยตลอด เช่น ในวรรณคดีอีสานหลายเรื่องจะใช้คำว่า ฟ้อน ตลอด ไม่ปรากฏคำว่า รำ ให้เห็นเลย อย่างคำว่า ยามยามฟ้อน ระทวยฟ้อน ลิงโขนฟ้อน กินรีหย่องฟ้อน ทั้งลำและฟ้อน ฟ้อนหย่อนขา คนฟ้อนใส่กัน หมอแคนฟ้อนแอ่น ฯลฯ ส่วนคำว่า เซิ้ง นิยมใช้ในงานบุญบั้งไฟ การเซิ้งบั้งไฟเป็นการฟ้อนประกอบการขับกาพย์เซิ้ง ลักษณะขึ้นลงตามจังหวะช้าๆ ของกลองตุ้ม พังฮาด หรือในบางครั้งก็มีโทนประกอบ นิยมเซิ้งกันเป็นกลุ่มๆ ตั้งแต่ 3-4 คนขึ้นไป จะมีหัวหน้าเป็นคนขับกาพย์เซิ้งนำ แล้วคนอื่นๆ จะร้องรับไปเรื่อยๆ เซิ้งสวิง เป็นการละเล่นพื้นเมืองของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในท้องถิ่นอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการละเล่นเพื่อส่งเสริมด้านจิตใจของประชาชนในท้องถิ่น ซึ่งมีอาชีพในการจับสัตว์น้ำ โดยมีสวิงเป็นเครื่องมือหลัก ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ท่านผู้เชี่ยวชาญนาฎศิลป์ไทย กรมศิลปากร จึงได้นำท่าเซิ้งศิลปะท้องถิ่นมาปรับปรุงให้เป็นท่าที่กระฉับกระเฉงขึ้น โดยสอดคล้องกับท่วงทำนองดนตรี ที่มีลักษณะสนุกสนานร่าเริง เครื่องดนตรี ที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดงชุดเซิ้งสวิง ได้แก่ กลองยาว กลองแต๊ะ แคน ฆ้องโหม่ง กั๊บแก๊บ ฉิ่ง ฉาบ กรับ การแต่งกาย ชาย สวมเสื้อม่อฮ่อม นุ่งกางเกงขาก๊วย มีผ้าขาวม้าโพกศีรษะและคาดเอว มือถือตะข้อง หญิง นุ่งผ้าซิ่นพื้นบ้านอีสาน ผ้ามัดหมี่มีเชิงยาวคลุมเข่า สวมเสื้อตามลักษณะผู้หญิงชาวภูไท คือสวมเสื้อแขนกระบอกคอปิด ผ่าอก ประดับเหรียญโลหะสีเงิน ปัจจุบันใช้กระดุมพลาสติกสีขาวแทน ขลิบชายเสื้อ คอ ปลายแขน และขลิบผ่าอกตลอดแนวด้วยผ้าสีตัดกัน เช่น สีเขียวขลิบแดง หรือสวมเสื้อกระบอกคอปิด ผ่าอก ห่มสไบเฉียงทับตัวเสื้อ สวมสร้อยคอโลหะทำด้วยเงิน ใส่กำไลข้อมือและกำไลข้อเท้า ผมเกล้ามวยสูงไว้กลางศีรษะ ทัดดอกไม้ มือถือสวิง

เซิ้งแถบลาน



ตามความเข้าใจของคนทั่วไปคิดว่า รำหรือระบำ เป็นการร่ายรำหรือฟ้อนของคนภาคกลาง ฟ้อน เป็นการร่ายรำของคนภาคเหนือ เซิ้ง เป็นการร่ายรำของคนภาคอีสาน แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ การฟ้อนของภาคอีสานนั้นมีมานานและเรียกว่าฟ้อนมาโดยตลอด เช่น ในวรรณคดีอีสานหลายเรื่องจะใช้คำว่า ฟ้อน ตลอด ไม่ปรากฏคำว่า รำ ให้เห็นเลย อย่างคำว่า ยามยามฟ้อน ระทวยฟ้อน ลิงโขนฟ้อน กินรีหย่องฟ้อน ทั้งลำและฟ้อน ฟ้อนหย่อนขา คนฟ้อนใส่กัน หมอแคนฟ้อนแอ่น ฯลฯ ส่วนคำว่า เซิ้ง นิยมใช้ในงานบุญบั้งไฟ การเซิ้งบั้งไฟเป็นการฟ้อนประกอบการขับกาพย์เซิ้ง ลักษณะขึ้นลงตามจังหวะช้าๆ ของกลองตุ้ม พังฮาด หรือในบางครั้งก็มีโทนประกอบ นิยมเซิ้งกันเป็นกลุ่มๆ ตั้งแต่ 3-4 คนขึ้นไป จะมีหัวหน้าเป็นคนขับกาพย์เซิ้งนำ แล้วคนอื่นๆ จะร้องรับไปเรื่อยๆ

ฟ้อนนกกิงกระหล่า

พม่า-ไทยอธิษฐาน



พม่า-ไทยอธิษฐาน
เพลงซึ่งแสดงจุดมุ่งหมายเพื่อเชื่อมความสำคัญระหว่างประเทศสหภาพพม่ากับประเทศไทย นายมนตรี ตราโมท แต่ง
บทร้องต่อไปนี้
ผองพวกเราลาวไทยใช่ใครอื่น ร่วมเผ่าพื้นพงศามาก่อนเก่า
ต้องแยกย้ายไปตามภูมิลำเนา ทำให้เราเหินห่าง (ต้องเหินห่าง)
ทางเขตแดน ภาษาพูดอีกพุทธศาสนา
เราประชาชาติทั้งสองยังครองแน่น ประเพณีวัฒนธรรมประจำแคว้น
ละม้ายแม้นเหมือนกัน (ช่างเหมือนกัน)
เป็นอันเดียว แดนห่างด้วยโขงขวางไว้
สายน้ำไหลกระแสเชี่ยว บ่ขวางมิตรจิตกลมเกลียว
ให้ห่างรักจากเผ่าพันธุ์ สายน้ำโขงคือสายโลหิต
เป็นสายชีวิตตรึงจิตมั่น ใครได้ทุกข์ก็ทุกข์ด้วยกัน
ใครสุขสันติ์ร่วมกันชื่นบาน มิตรอื่นมากหมื่นแสน
หรือจะแม้นร่วมวงศ์วาน เหมือนสายกระแสธาร
ใครตัดได้ย่อมไม่มี ขอตั้งจิตปณิธาน
จะสมานการไมตรี ร่วมรักกันฉันท์น้องพี่ ที่ร่วมครรภ์นิรันดร

ฟ้อนดาบ


ฟ้อนดาบ เป็นศิลปะการแสดงลีลาท่าทางในการต่อสู้ป้องกันตัวด้วยมีดดาบของชาวเหนือ โดยผู้แสดงจะย่างไปข้างหน้า ถอยหลัง หันซ้าย ขวา ในลักษณะของการระวังตัว ระวังคู่ต่อสู้ ปัจจุบันใช้แสดงความสามารถในการใช้ดาบติดไว้ตามร่างกายเป็นจำนวนหลายเล่ม อีกมือหนึ่งจะถือปลอกมีดไว้ปัดป้อง มีมาแต่สมัยโบราณ ใช้กลองสะบัดชัยตีประกอบจังหวะ ผู้แสดงสวมชุดพื้นบ้านภาคเหนือ (นุ่งกางเกงครึ่งแข้ง สวมเสื้อม่อฮ่อม มีผ้าขาวม้าคาดเอว) การแสดงชุดนี้ใช้เวลาประมาณ ๑๐ - ๓๐ นาที

ฟ้อนไต


ฟ้อนไต เป็นศิลปะการฟ้อนของชาวพื้นเมืองเหนือที่ได้รับอิทธิพลมาจากชนชาติไทยใหญ่ ฟ้อนกันทั่วไปแถบ จังหวัดแม่ฮ่องสอน และจังหวัดเชียงใหม่ที่มีชาวพื้นเมืองที่สืบเชื้อสายมาจากชนชาติไทยใหญ่มาแต่เดิม ซึ่งมีการฟ้อนโดยทั่วไปทั้งชายและหญิง
ผู้แสดง
ใช้ผู้หญิงแสดง ฟ้อนเป็นชุด ชุดหนึ่งประมาณ 12 คน หรือมากกว่านั้น
การแต่งกาย
นุ่งผ้าซิ่นไหมสีต่าง ๆ หรือนุ่งผ้าซิ่นที่มีดอกสดใส ยาวกรอมเท้า ใช้พับข้างหน้าแล้วขมวดเหน็บเอวข้างซ้ายหรือขวาตามถนัด เสื้อแขนยาวทรงกระบอก ตัวสั้นแค่เอวหรือสูงกว่าเอวเล็กน้อย ด้านหน้าป้ายข้างเป็นลักษณะเสื้อไต (หรือเสื้อพม่า) ติดกระดุม 3 เม็ด เกล้ามวยผมทรงสูงแล้วปล่อยชายผมลงมาไว้ข้าง ๆ มีผ้าคล้องคอยาว ๆ ปล่อยชายไว้ทั้ง 2 ข้าง
วิธีแสดงและการฟ้อน
วิธีแสดงฟ้อนไตนั้น ผู้ฟ้อนจะยืนเรียงแถวแล้วฟ้อนเช่นเดียวกับฟ้อนเมืองของพื้นเมืองเหนือ ท่าที่ใช้ฟ้อนเป็นลักษณะของไทยใหญ่ ต่อมานายแก้ว และนางละหยิ่น ทองเขียว ได้ใช้ท่าแม่บทของภาคกลางมาประกอบ และเรียงลำดับท่าการฟ้อนให้ต่อเนื่องกันเพื่อความสวยงาม
ดนตรีประกอบ
ดนตรีที่ใช้ประกอบการฟ้อน ถ้าเป็นการฟ้อนไตโดยทั่วไปจะใช้วงกลองมองเซิง
สำหรับการฟ้อนไตที่แม่ฮ่องสอนใช้วงดนตรีของไทยใหญ่ และเพลงไทยใหญ่ ประกอบการฟ้อน ไม่มีการขับร้อง เครื่องดนตรีมี
1.
กลอง (กลองเมา)
2.
ฆ้องแผง (มองวาย)
3.
ระนาดเหล็ก (ป้าดเหล็ก)
4.
แน (แนยี แนแวง แนแหง่)
5.
ฉิ่ง ฉาบ กรับ
6.
เป่าใบไม้
7.
ฯลฯ
โอกาสที่แสดง
ใช้แสดงในงานมลคลโดยทั่วไป ฟ้อนไตในปัจุบันใช้ผู้ฟ้อนเป็นหญิงล้วน นุ่งผ้าซิ่นไหมสีต่าง ๆ ที่มีดอกสดใส เสื้อแขนยาวทรงกระบอก ตัวสั้น ด้านหน้าป้ายข้างเป็นลักษณะเสื้อไต (ไทยใหญ่) ซึ่งมีลักษณะเหมือนเสื้อพม่า ดนตรีที่ใช้ประกอบการฟ้อนนั้น โดยทั่วไปจะใช้วงมองเซิง แต่เฉพาะในจังหวัดแม่ฮ่องสอน จะใช้วงดนตรีของไทยใหญ่และใช้เพลงไทยใหญ่

ฟ้อนเทียน


ฟ้อนเทียน เป็นการฟ้อนของชาวไทยภาคเหนือ ผู้ฟ้อนถือเทียนจุดไฟมือละเล่มทั้งสองมือตามปกติใช้ฟ้อนในที่กลางแจ้ง ในเวลากลางคืน ความสวยงามอยู่ที่ใช้ผู้ฟ้อนเป็นจำนวนมาก และแสดงเทียนที่เป็นประกายขณะที่เคลื่อนไหวไปตามลีลาของเสียงเพลง การฟ้อนนี้แต่เดิมมาคงใช้เป็นการฟ้อนสักการะบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และพิธีสำคัญในคุ้มเจ้าหลวง รูปแบบการฟ้อนที่ปรากฎอยู่นี้ พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ทรงให้ครูฟ้อนในคุ้มปรับปรุงรูปแบบขึ้น และให้ฟ้อนถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว คราวเสด็จประพาสมณฑลพายัพ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙ ต่อมา นางลมุล ยมะคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร ได้ฝึกหัดจดจำนำมาถ่ายทอดให้กับศิลปินและนักเรียนของกรมศิลปากรสืบมาดนตรีประกอบการแสดงฟ้อนเทียนนี้ ใช้วงดนตรีพื้นเมืองหรือวงปี่พาทย์ บาทร้องเป็นบทพระนิพนธ์ของพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ต่อมาภายหลัง นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญด้านดุริยางค์ไทย กรมศิลปากร และศิลปินแห่งชาติ ได้ประพันธ์ขึ้นใหม่ ประกอบด้วย บทเกริ่นทำนองโยนก ซอยิ้น และจ้อยเชียงแสนการแต่งกาย แต่งกายตามแบบกุลสตรีชาวเหนือ นุ่งซิ่นป้ายลายขวาง สวมเสื้อแขนกระบอก ห่มสไบ มุ่นผมประดับดอกไม้ ถ้าเป็นแบบแผนของคุ้มเจ้าหลวง ผู้แสดงต้องสวมกำไลเท้า ลักษณะท่ารำ เป็นการร่ายรำตามทำนองเพลง มีจุดประสงค์เพื่อเป็นการฟ้อนบวงสรวงหรือฟ้อนต้อนรับตามประเพณีของชาวเหนือ ความยาวของชุดการแสดงโดยประมาณ ใช้เวลาประมาณ ๑๐๑๒ นาที (มีบทร้อง) ใช้เวลาประมาณ ๕-๘ นาที (ไม่มีบทร้อง)

ฟ้อนวี


คำว่า วีเป็นคำพื้นเมืองของภาคเหนือ แปลว่า พัดซึ่งรำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น พัดให้คลายร้อน พัดไล่ยุงหรือแมลง วีของภาคเหนือมีหลายลักษณะ วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ได้นำวีมาสร้างสรรค์เป็นชุดการแสดง ครั้งแรกแสดงในงานศิลปวัฒนธรรมและนิทรรศการของสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อ เทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ ๓ รอบ ณ วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๔ นายคำ กาไวย์ ครูสอนนาฏศิลป์พื้นเมืองของวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ และศิลปินแห่งชาติ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการประดิษฐ์ท่ารำ โดยนำวิธีการและประโยชน์ของการใช้ วีในลักษณะต่าง ๆ ตามท่าทางธรรมชาติมาประดิษฐ์เป็นท่ารำที่อ่อนช้อย แสดงให้เห็นถึงอารมณ์รื่นเริงสนุกสนานของหญิงสาวล้านนา ท่ารำทั้งหมดมี ๑๕ ท่า เช่น ท่าป้าวก๋อยใบ ท่าบัวบาน ท่ารอลม ท่าวีผมตากแดด ท่ายืนกาดกล้าไปมา เป็นต้น ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง ใช้วงประสมของเครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือ ประกอบด้วย สะล้อใหญ่ สะล้อกลาง สะล้อเล็ก ซึงใหญ่ ซึงกลาง ซึงเล็ก ปี่จุม กลองพื้นเมือง การแต่งกายของผู้แสดง นุ่งซิ่นตีนจก สวมเสื้อคอกลมเข้ารูปแขนสามส่วน สไบคล้องคอ เครื่องประดับเข็มขัด สร้อยคอ กำไลข้อมือ ต่างหู เกล้าผมมวยสูงดึงช่อผมสูงจากมวยปักปิ่น ดัดแปลงปรับปรุงจากข้อมูลการแต่งกายของหญิงสาวล้านนา จากจิตรกรรมฝาผนักที่วัดพระสิงห์วรวิหารจังหวัดเชียงใหม่ และวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน การแสดงชุดนี้ใช้เวลาแสดงประมาณ ๑๒ นาที

ฟ้อนมาลัย


ฟ้อนมาลัย

ฟ้อนมาลัย หรือลาวดวงดอกไม้ เป็นการแสดงที่นำมาจากการแสดงละครพันทางเรื่องพระยาผานอง ซึ่งกรมศิลปากรปรับปรุงขึ้นแสดง ณ โรงละครแห่งชาติเมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๑ โดย อาจารย์มนตรี ตราโมท เป็นผู้แต่งทำนองเพลงและบทร้อง ท่านผู้หญิงหม่อมแผ้ว สนิทวงศ์เสนีย์ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ
ฟ้อนชุดนี้ออกเป็นเพลงซุ้ม ซึ่งเป็นเพลงลาวชั้นเดียว ปัจจุบันใช้แสดงในโอกาสงานมงคล หรืองานเบ็ดเตล็ดทั่วไป

ชมดอกไม้เบ่งบาน สลอนฝูงภมรวะว่อนใฝ่หา

ดอกพิกุลยี่สุ่นจำปา ลมพัดพารำเพขจร

เกดกระถินส่งกลิ่นหอมฟุ้ง กำจายจรุงระรื่นเกสร

จันทน์กะพ้อช่างล่อภมร ให้หลงเริงร่อนบินว่อนตอม

โอ้ดอกไม้ก็ได้ใช้กลิ่น อวดประทินที่แสนสุดหอม

เร้าฤทัยเราให้ใฝ่ดอม ช่างน่าถนอมจริงหนอ

พวกดอกไม้ก็ไม่งามเท่า พักตร์แม่เจ้าแม่ท้าวค้าปิน

สำรวยเลิศช่างเฉิดโฉมฉิน บ่มีมลทินทั่วสรรพางค์

กลิ่นดอกไม้ก็ไม่ระรื่น หอมชุ่มชื่นเท่าคุณพระนาง

ข้าเจ้าภักดีบ่มีจืดจาง จนชีวิตวางวายเนอ

ฟ้อนมาลัย

ฟ้อนมาลัย หรือลาวดวงดอกไม้ เป็นการแสดงที่นำมาจากการแสดงละครพันทางเรื่องพระยาผานอง ซึ่งกรมศิลปากรปรับปรุงขึ้นแสดง ณ โรงละครแห่งชาติเมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๑ โดย อาจารย์มนตรี ตราโมท เป็นผู้แต่งทำนองเพลงและบทร้อง ท่านผู้หญิงหม่อมแผ้ว สนิทวงศ์เสนีย์ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ
ฟ้อนชุดนี้ออกเป็นเพลงซุ้ม ซึ่งเป็นเพลงลาวชั้นเดียว ปัจจุบันใช้แสดงในโอกาสงานมงคล หรืองานเบ็ดเตล็ดทั่วไป

ชมดอกไม้เบ่งบาน สลอนฝูงภมรวะว่อนใฝ่หา

ดอกพิกุลยี่สุ่นจำปา ลมพัดพารำเพยขจร

เกดกระถินส่งกลิ่นหอมฟุ้ง กำจายจรุงระรื่นเกสร

จันทน์กะพ้อช่างล่อภมร ให้หลงเริงร่อนบินว่อนตอม

โอ้ดอกไม้ก็ได้ใช้กลิ่น อวดประทินที่แสนสุดหอม

เร้าฤทัยเราให้ใฝ่ดอม ช่างน่าถนอมจริงหนอ

พวกดอกไม้ก็ไม่งามเท่า พักตร์แม่เจ้าแม่ท้าวคำปิน

สำรวยเลิศช่างเฉิดโฉมฉิน บ่มีมลทินทั่วสรรพางค์

กลิ่นดอกไม้ก็ไม่ระรื่น หอมชุ่มชื่นเท่าคุณพระนาง

ข้าเจ้าภักดีบ่มีจืดจาง จนชีวิตวางวายเนอ

รำลาวกระทบไม้

รำเทิดเทิง


รำกลองยาว


รำกลองยาว
ประวัติความเป็นมา คณะกลองยาวที่มีชื่อเสียงมากของชาวอำเภอพยุหะคีรี ได้แก่ คณะ บ.รุ่งเรืองศิลป์ ของนายบุญ เอี่ยมเวช ซึ่งได้ดัดแปลงท่าร่ายรำมาจากท่าร่ายรำของลิเก พร้อมได้ดัดแปลงประดิษฐ์ชุดแต่งกายขึ้น โดยเลียนแบบจากเครื่องแต่งกายของลิเกเช่นกัน และใช้ชื่อว่า กลองยาวประยุกต์และได้นำออกแสดงเป็นครั้งแรกราวปี พ.ศ. 2500
ผู้เล่น ในตอนแรกผู้ร่ายรำใช้ทั้งชายและหญิง ต่อมาเปลี่ยนเป็นใช้ผู้หญิงเป็นผู้ร่ายรำเท่านั้น ส่วนผู้ชายทำหน้าที่ตีกลองยาว และเครื่องดนตรีประกอบ ในตอนแรกมีผู้เล่นทั้งหมด 16 คน โดยมีผู้ตีกลองยืน 3 คน และผู้ตีเครื่องดนตรีประกอบได้แก่ ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง ฆ้อง อีก 5 คน สำหรับผู้รำมี 4 คู่ 8 คน มีผู้รำคนหนึ่งเป็นหัวหน้า คล้องนกหวีดไว้ที่คอสำหรับเป่าเป็นสัญญาณในการเปลี่ยนท่ารำ ในตอนหลังมีการเพิ่มเครื่องดนตรี เช่น กลองอเมริกันและปี่ชวาขึ้น และเพิ่มความครึกครื้น ก็เพิ่มผู้ร่ายรำเข้าไปอีก
การแต่งกาย แต่เดิมไม่มีแบบแผน แต่ต่อมาได้คิดประดิษฐ์ชุดเครื่องแต่งกายขึ้นใหม่โดยแปลงจากชุดของลิเก คือ นุ่งกางเกงคลุมเข่า และนุ่งผ้าโจงกระเบนทับกางเกง สวมเสื้อคอกลมแขนสั้น มีผ้าคาดศีรษะ ทัดดอกไม้ไว้ข้างหู สวมถุงเท้าสีขาวยาวถึงครึ่งน่อง มีผ้าคาดเอว
อุปกรณ์ในการเล่น กลองยาวที่ใช้ตีเป็นกลองยืน 3 ใบ กลองใหญ่ (กลองอเมริกัน) ฉาบเล็ก 1 คู่ ฉาบใหญ่ 1 คู่ ฉิ่ง 1 คู่ ปี่ชวา 1 เลา ฆ้อง 1 ใบ กรับ 1 คู่และกลองยาวที่ผู้รำใช้ประกอบการร่ายรำอีกคนละ 1 ใบ
สถานที่เล่น ลานกว้างๆ
วิธีเล่น ก่อนเล่นมีการทำพิธีไหว้ครู มีดอกไม้ธูปเทียน เหล้าขาว บุหรี่และเงินค่ายกครู 12 บาท การไหว้ครูใช้การขับเสภา เมื่อไหว้ครูแล้วจะโห่ขึ้น 3 ลา แล้วเริ่มแสดง โดยนักดนตรีประกอบเริ่มบรรเลง ผู้ร่ายรำก็จะเดินและร่ายรำไปตามจังหวะกลอง มีท่าร่ายรำทั้งหมด 33 ท่า ท่าที่หวาดเสียวและตื่นเต้นมากที่สุดก็เห็นจะเป็นท่าที่ 30-31 คือท่าที่มีการต่อกลองขึ้นไป 3 ใบ ให้ผู้แสดงคนหนึ่งขึ้นไปยืนบนกลองใบที่ 3 แล้วควงกลอง และคาบกลอง ซึ่งผู้แสดงต้องใช้ความสามารถพิเศษ
บทร้องประกอบการเล่น ในการเล่นอาจมีบทร้องประกอบหรือร้องกระทุ้งในเวลาที่ผู้ร่ายรำออกรำเพื่อเพิ่มความสนุกสนานครึกครื้นทั้งผู้ชมและผู้แสดงคำร้องที่ใช้ร้องเล่นเท่าที่ใช้อยู่มีดังนี้
1.
แฮ้-แฮะ แฮ้-แฮะๆๆ แช้-แช้วับๆๆ (แช้วับ เป็นคำร้องเลียนเสียงตีฉาบ มักใช้ร้องสอดตามจังหวะ)
2.
มาแล้วโหวย มาแล้ววา มาแต่ของเขา ของเราไม่มา ตะละล้า(หรือ)มาแล้วโหวย มาแล้ววา มาแต่ป่า รอยตีนโต (ก็มี)
3.
ต้อนไว้ ต้อนไว้ เอาไปบ้านเรา บ้านเราคนจน ไม่มีคนหุงข้าว-ตะละล้า
4.
ใครมีมะกรูด มาแลกมะนาว ใครมีลูกสาว มาแลกลูกเขย เอาวะเอาเหวยลูกเขยกลองยาว (บางทีก็ต่อสร้อยด้วยว่า แฮ้ แฮะ บ้าง ตะละล้าบ้าง แช้-วับ บ้าง)
5.
ยักคิ้วยักค่อยเสียหน่อยเถอะ ลอยหน้าลอยตาเสียหน่อยเถอะ (ซ้ำ)
6.
เจ๊กตายลอยน้ำมาๆ ไม่ได้นุ่งผ้าชฎาแหลมเชี้ยบๆๆๆ
7.
แม่สาวนครสวรรค์ๆ ช่างกล้าหาญเสียนี่กระไร เอ้าต่อเข้าไปๆ ไม่ต้องกลัวตายอีหนูๆ ไม่ต้องกลัวร่วงอีหนูๆ ไม่ต้องกลัวตกอีหนูๆ
8.
บอกแม่จะไปเก็บถั่วๆ พอลับตาแม่วิ่งแร่หาผัว ตะละล้าบอกแม่จะไปเก็บผักๆ พอถึงท้องร่องกระดองเต่าหัก
9.
ลูกสาวใครเหวย ลูกสาวใครวา เทวดาก็สู้ไม่ได้ สวยอย่างนี้อย่ามีผัวเลย เอาไว้ชมเชยอีหนูๆ
10.
แดงแจ๊ดๆ แดงแจ๋ แดงแจ๊ดแจ๋แดงแจ๋แดงแจ๊ด
11.
ดำปิ๊ดดำปิ๊ดดำปี๋ ดำปิ๊ดปี๋ ดำปี๋ดำปิ๊ด
โอกาสที่เล่น ในงานเทศกาลต่างๆ เช่น ตรุษสงกรานต์ ลอยกระทง ปีใหม่ ตักบาตรเทโว สรงน้ำพระ หรืองานบวช เป็นต้น
ประโยชน์ที่ได้รับ
1.
เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน
2.
เพื่อสืบทอดศิลปะการแสดงพื้นบ้านไว้เป็นมรดกของชาวนครสวรรค์

ระบำศรีวิชัย


ระบำศรีวิชัย
เป็นระบำในชุดของระบำโบราณคดี ทำนองเพลงนั้นแต่งให้เป็นสำเนียงชวา ตามหลักฐานศิลปะกรรมในอาณาจักรศรีวิชัย ระหว่างพุธทศตรรวที่ 13-28 อยู่ในสมัยราชวงศ์ไศเลน เครื่องดนตรีมีกระจับปี่ 3 ตัว ซอสามสาย ขลุ่ยเพียงออ ตะโพน กลองแขก ฉิ่ง ฉาบเล็กและกรับ

ระบำชุดชาวเขาสี่เผ่า

แสนหวี





แสนหวี ระบำ
เป็นการแสดงที่ตัดตอนมาจากการแสดงละครเรื่องเจ้าหญิงแสนหวี บทประพันธ์ของ ฯพลฯพลตรีหลวงวิจิตรวาทการ ซึ่งได้ประพันธ์ไว้ในปี พ.ศ. 2481 รำชุดนี้เป็นการแสดงของเจ้าหญิงแสนหวีที่ได้จัดการร่ายรำมาถวาย เพื่อเป็นเกรียติแก่เจ้าชายเขมรัฐที่เสด็จมายังเมืองแสนหวี
เนื้อเพลง
พวกชาวแสนหวี เราแสนยินดี รับรองเจ้าชาย
มาแต่เขมรัฐ เราจัดรำถวาย
สมโภชเจ้าชายต่าง บ้านเมืองมา
เคยอยู่ในเมือง รุ่งเรืองร่มเย็น
ต้องเสด็จมาเห็น เมืองดอนบ้านป่า
พวกชาวแสนหวี เราแสนยินดี รับรองท่านมา
หากต้อนรับไป ไม่สมพระเกียรติ
ก็อย่าทรงรังเกียจ ให้อภัยปวงข้า
ขอเชิญประทับ อยู่แค้วนแสนหวี
โรคภัยอย่ามี เบียดเบียนบีฑา
พวกชาวแสนหวี เราแสนยินดี รับรองท่านมา
ให้ทรงสำราญ เบิกบานพระทัย
ต้องประสงค์สิ่งไร ให้สมปรารถนา
อยู่เย็นเป็นสุข ทุกวันเวลา
ทั่วโลกแหล่งหล้า แซ่ซ้องร้องชม

ระบำนพรัตน์





คำร้อง: นายมนตรี ตราโมท

รัตนคูหากายสิทธิ์
ล้วนวิจิตรนวรัตน์จรัสฉาย
แสงมณีสีวามอร่ามพราย
เป็นเลื่อมลายแลสลับระยับตา
อันเพชรดีสีขาวรุ้งพราวเพริศ
สุดประเสริฐแสงสีวิเลขา
ใครประดับเพชรดีมีราคา
เรืองเดชานุภาพด้วยดวงมณี
ทับทิมแท้แลดูแดงอร่าม
แสงแวววามแจ่มจรัสรัศมี
กำจัดปวงโรคาพยาธี
พูนทวีสินทรัพย์นับอนันต์
มรกตสดขจีสีเขียวขำ
แสงงามล้ำเลอเลิศประเสริฐสรรพ์
ประดับกันเขี้ยวงาสารพัน
คุ้มภยันตรายถ้วนมวลพาลา
อันมณีสีเหลืองเรืองวิรุจน์
นี้คือบุษราคัมเลิศล้ำค่า
เป็นอาภรณ์พูนสวัสดิ์วัฒนา
ชนม์พรรษายืนดำรงคงนิรันดร์
แก้วโกเมนแดงก่ำน้ำใสสด
แสนงามงดรูจีแสงสีสรรพ์
ผู้ประดับรับเคารพอภิวันทน์
ประชานันต์นับถือเลื่องลือนาม
นิลกาฬน้ำเงินก่ำล้ำหมอกเมฆ
รุจิเรขรุ่งโรจน์โชติอร่าม
อำนวยสรรพ์สุขารมณ์อภิราม
สิ่งดีงามหลามหลั่งสะพรั่งมา
สีขาวหม่นหมอกมัวสลัวแสง
บอกแสดงมุกดาหารตระการสง่า
ดลขจัดสัตว์ร้ายพ่ายเดชา
อสรพิษนานาล่าหลีกไกล
แก้วเพทายพรายแสงสีแดงเรื่อ
พรรณอะเคื้อลำยองผุดผ่องใส
นำศิริมงคลดลโชคชัย
กำจัดภัยผองอุบาทว์ให้คลาดคลาย
แก้วไพฑูรย์ขุ่นฉวีสีไม้ไผ่สังวาล
ไหมสาแหรกผ่านประสานสาย
บันดาลชัยชนะหมู่ศัตรูร้าย
แผ่กำจายเสน่ห์ติดจับจิตเอย

สีขาวผ่อง
เพชรดี
ทับทิมสี
มณีแดง
เขียวใสแสง
มรกต
เหลืองใสสด
บุษราคัม
แดงแก่ก่ำ
โกเมนเอก
สีหมอกเมฆ


นิลกาฬ
มุกดาหาร
หมอกมัว
แดงสลัว
เพทาย
สังวาลสาย
ไพฑูรย์
เจิดจำรูญ
นพรัตน์
อวยสวัส
ดิภาพล้น
ปวงวิบัติ
ขจัดพ้น
ผ่านร้าย
กลายดี

เป็นการแสดงที่นำมาจากการแสดงละครเรื่อง สุวรรณหงส์ ตอนพราหมณ์เล็กพราหมณ์โต การแสดงในตอนนี้มุ่งสร้างแนวความคิดให้แก้วเก้าเนาวรัตน์ ออกมาเริงระบำในเชิงบุคลาธิฐาน โดยเน้นความสวยงาม และสารัตถประโยชน์ของบรรดานพรัตน์เหล่านั้นอย่างเด่นชัด ด้วยความหมายของท่าระบำ และทำนองเพลง โดยผู้แสดงจะแต่งกายตามสีสันของแก้วนพรัตน์