วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2550

รำซัดชาตรี


รำซัดชาตรี

รำซัดชาตรี เป็นการแสดงที่นิยมจนมีแบบแผนเป็นของตนเอง ในแบบศิลปะทางใต้ของไทย
ปรับปรุงมาจากรำซัดไหว้ครูของละครชาตรี ซึ่งเคยเป็นละครรำแบบเก่าชนิดหนึ่งของไทย ถือว่าเป็นต้นกำเนิดของละครรำประเภทต่างๆ ซึ่งได้รับการปรับปรุงในสมัยต่อมา ประเพณีการแสดงละครชาตรี ถือธรรมเนียมกันว่าผู้แสดงตัวพระ จะต้องรำไหว้ครูเป็นการเบิกโรงเรียกว่า " รำซัด " โดยมีโทน ปี่ กลอง กรับ ประกอบจังหวะ
ต่อมากรมศิลปากรได้ดัดแปลงรำซัด และปรับปรุงให้มีผู้รำทั้งฝ่ายชาย(ตัวพระ) และหญิง(ตัวนาง) เพื่อให้น่าดูมีชีวิตชีวา โดยรักษาจังหวะอันเร่งเร้าไว้อย่างเดิม
สิ่งสำคัญของการรำนั้น จะมีการรวมจุดที่กำหนดเป็นอย่างดีระหว่างท่าทางที่เคลื่อนไหว ในระหว่างที่รำอยู่ในจังหวะที่เร่งเร้าของผู้รำ กับจังหวะของการตีกลอง ผู้ตีกลองจะต้องตีกลองไปตลอดเวลาไปพร้อมๆ กับผู้ที่ร่ายรำจนครบจังหวะของการแสดง ให้ประสานกลมกลืนกัน จนเป็นที่นิยมชมชอบจากผู้ชมที่ได้ชมการแสดงชุดนี้เสมอมา