วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ระบำอธิษฐาน




ระบำอธิษฐาน

อธิษฐานเอย สองมือจับพาน

ประดับพวงพุทธชาด (ซ้ำ) ขอกุศลผลบุญ

จงมีแด่ผู้ทำคุณ ประโยชน์ไว้ในชาติ

อย่ามีใครคิดร้าย มุ่งทำลายชาติไทย

ขอให้ทุกคนสนใจ ห่วงใยประเทศชาติ

ให้ไทยเรานี้ มีความสามารถ

ช่วยตัวช่วยชาติ ทำให้ไทยเป็นเมืองทอง

อธิษฐานเอย สองมือจับพาน

ประดับพวงผกากรอง (ซ้ำ) ขอไทยรักไทย

ร่วมเป็นมิตรมั่นใจ ถือไทยเป็นพี่น้อง

อย่ามีการยุแยก อย่าทำให้แตกร้าวฉาน

ขอให้ช่วยกันสมาน เพื่อนไทยทั้งผอง

มุ่งสามัคคี เหมือนพี่เหมือนน้อง

กลมเกลียวเกี่ยวข้อง รักกันทั่วทุกคน

รำวงมาตรฐาน





รำวงมาตรฐาน วิวัฒนาการมาจากการรำโทน เป็นการละเล่นพื้นเมืองของไทย ต่อมาท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ได้แต่งเนื้อร้องและมอบให้กรมศิลปากรบรรจุท่ารำไว้เป็นมาตรฐาน เป็นเพลงที่มีเนื้อร้องสุภาพ ใช้คำง่าย ทำนองเพลงง่าย มุ่งให้เห็นวัฒนธรรมของชาติเป็นส่วนใหญ่ การแสดงจะใช้ผู้แสดงหญิงชายไม่น้อยกว่า ๕ คู่

ท่ารำ
คุณครูศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก คุณครูมัลลี คงประภัศร์ และคุณครูลมุล ยมะคุปต ได้ร่วมกันประดิษฐ์ท่ารำขึ้น ทั้งหมด ๑๔ แม่ท่า เป็นชื่อท่ารำที่อยู่ในรำแม่บท มีทั้งหมด ๑๐ เพลง ได้แก่ เพลงงามแสงเดือน เพลงชาวไทย เพลง รำซิมารำ เพลงคืนเดือนหงาย เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ เพลงดอกไม้ของชาติ เพลงหญิงไทยใจงาม เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า เพลงยอดชายใจหาญ และเพลงบูชานักรบ

คำร้อง
จมื่นมานิตย์นเรศ (เฉลิม เศวตนันท์) หัวหน้ากองการสังคีต กรมศิลปากร ได้ประพันธ์ขึ้น ๔ เพลง คือ เพลงงามแสงเดือน เพลงชาวไทย เพลง รำซิมารำ เพลงคืนเดือนหงาย
คุณหญิงละเอียด พิบูลสงคราม ได้ประพันธ์คำร้องไว้ ๖ เพลง คือ เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ เพลงดอกไม้ของชาติ เพลงหญิงไทยใจงาม เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า เพลงยอดชายใจหาญ และเพลงบูชานักรบ

ทำนอง
อาจารย์มนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทย กรมศิลปากร ได้แต่งทำนองไว้ ๖ เพลง คือ เพลงงามแสงเดือน เพลงชาวไทย เพลง รำซิมารำ เพลงคืนเดือนหงาย เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ เพลงดอกไม้ของชาติ
ครูเอื้อ สุนทรสนาน หัวหน้าวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ แต่งทำนองไว้ ๔ เพลง คือ เพลงหญิงไทยใจงาม เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า เพลงยอดชายใจหาญ และเพลงบูชานักรบ

เครื่องดนตรี
เดิมนั้น รำโทนมีเครื่องดนตรีประกอบ คือ ฉิ่ง กรับ ฉาบ และโทน เมื่อมีการพัฒนาการรำขึ้น จึงได้พัฒนาเครื่องดนตรีที่ใช้ด้วย โดยใช้วงดนตรีสากลบรรเลง

การแต่งกาย
มิได้กำหนดเฉพาะเจาะจงว่าต้องแต่งชุดไทยอย่างใดอย่างหนึ่งแน่นอน แต่สามารถแต่งได้หลายอย่าง เช่น แต่งชุดไทยจักรี ชุดไทยสมัย ร.๖ ชุดไทยแบบชาวบ้านคือห่มสไบ นุ่งโจงกระเบนหรือชุดไทยสมัยใดก็ได้ขอให้เป็นแบบไทยขอให้ดูสุภาพงดงาม ชายก็แต่งได้ทั้งชุดไทยแบบชาวบ้าน คือนุ่งโจงกระเบนใส่เสื้อคอพวงมาลัยแขนสั้นผ้าคาดเอว หรือชุดไทยเสื้อพระราชทานกางเกงขายาวชุดราชปะแตนหรือชุดสากลใส่สูทผูกเนคไทก็ได้

รำซัดชาตรี


รำซัดชาตรี

รำซัดชาตรี เป็นการแสดงที่นิยมจนมีแบบแผนเป็นของตนเอง ในแบบศิลปะทางใต้ของไทย
ปรับปรุงมาจากรำซัดไหว้ครูของละครชาตรี ซึ่งเคยเป็นละครรำแบบเก่าชนิดหนึ่งของไทย ถือว่าเป็นต้นกำเนิดของละครรำประเภทต่างๆ ซึ่งได้รับการปรับปรุงในสมัยต่อมา ประเพณีการแสดงละครชาตรี ถือธรรมเนียมกันว่าผู้แสดงตัวพระ จะต้องรำไหว้ครูเป็นการเบิกโรงเรียกว่า " รำซัด " โดยมีโทน ปี่ กลอง กรับ ประกอบจังหวะ
ต่อมากรมศิลปากรได้ดัดแปลงรำซัด และปรับปรุงให้มีผู้รำทั้งฝ่ายชาย(ตัวพระ) และหญิง(ตัวนาง) เพื่อให้น่าดูมีชีวิตชีวา โดยรักษาจังหวะอันเร่งเร้าไว้อย่างเดิม
สิ่งสำคัญของการรำนั้น จะมีการรวมจุดที่กำหนดเป็นอย่างดีระหว่างท่าทางที่เคลื่อนไหว ในระหว่างที่รำอยู่ในจังหวะที่เร่งเร้าของผู้รำ กับจังหวะของการตีกลอง ผู้ตีกลองจะต้องตีกลองไปตลอดเวลาไปพร้อมๆ กับผู้ที่ร่ายรำจนครบจังหวะของการแสดง ให้ประสานกลมกลืนกัน จนเป็นที่นิยมชมชอบจากผู้ชมที่ได้ชมการแสดงชุดนี้เสมอมา

ระบำสุโขทัย


ระบำสุโขทัย

เป็นระบำโบราณคดี ที่ได้สร้างขึ้นตามความรู้สึกจากแนวสำเนียงของถ้อยคำไทย

ในศิลาจารึก ประกอบด้วยลีลาท่าเยื้องกรายอันนิ่มนวลอ่อนช้อยของรูปภาพปูนปั้นหล่อ

ในสมัยสุโขทัย ได้แก่พระพุทธรูปปางสำริตและรูปภาพปูนปั้นปางลีลา รูปพระพุทธองค์

เสด็จลงจากดาวดึงส์และท่าทีของพระพรหมและพระอินทร์ที่ตามเสด็จ การแสดงระบำสุโขทัย

จะรำตามจังหวะดนตรีไม่มีเนื้อร้อง

นาฎยศัพท์ที่ใช้ประกอบการรำ
๑.
จีบหังสัสยะหัสต์ โดยการนำนิ้วหัวแม่มือจรดข้อสุดท้ายของนิ้วชี้
หักข้อนิ้วชี้ลงมา
นิ้วที่เหลือกรีดดึงออกไป
๒.
ท่าปางลีลา เป็นท่าออก โดยมือซ้ายจีบแบบหังสัสยะหัสต์ มือขวาแบส่งไปหลัง
หงายท้องแขนขึ้น เอียงศีรษะด้านซ้าย ก้าวเท้าขวามาข้างหน้า เท้าซ้ายเปิดส้นเท้า
๓.
ท่าดอกบัว คิดจากการเคารพบูชากราบไหว้ มือทำเป็นรูปดอกบัว
อยู่ระหว่างอกเป็นดอกบัวตูม ชูมือขึ้นแล้วค่อยๆบานปลายนิ้วออกเป็นบัวบาน
๔.
ท่าพระนารยณ์ แทนองค์พระนารายณ์ พระอิศวร ท่าจีบแบบหังสัสยะหัสต์
ตั้งวงกลางข้างลำตัว กระดกเท้าซ้าย
๕.
ท่ายูงฟ้อนหาง คิดจากท่านาฎศิลป์ แบมือ แขนทั้งสองตึงส่งหลัง หงายท้องแขนขึ้น
๖.
ท่าบัวชูฝัก คิดจากการขอพร อีกมือหนึ่งไว้ข้างสะโพก มือจีบคว่ำแล้วสอดมือขึ้น
เป็นท่าสอดสูงเหนือศีรษะ
๗.
ท่าชะนีร่ายไม้ คิดจากมนุษย์โลกต้องการดำรงชีวิต หมุนเวียนเปลี่ยนไป โดยหมุนเป็นวงกลมแทนการเวียน ว่าย ตาย เกิด
มือข้างหนึ่งตั้งวงสูง มืออีกข้างหนึ่งหงายท้องแขน ลำแขนตึง แบมือและชี้ปลายนิ้วลง มองมือสูง

ระบำสี่ภาค


ระบำสี่ภาค

ระบำสี่ภาค เป็นการแสดงที่สวยงามชุดหนึ่งที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เพื่อให้เห็นลีลาท่ารำ ตลอดจนสำเนียงดนตรีการแต่งกาย และอาชีพที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทยนอกจากนี้ ยังชี้ให้เห็นถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนไทย ถึงแม้จะอยู่คนละภาคกัน
การแต่งกาย ผู้แสดงจะแต่งกายตามประจำภาคที่ตนแสดง
โอกาสที่แสดง ใช้แสดงในงานรื่นเริงทั่วไป

ระบำลพบุรี


ระบำลพบุรี


ระบำลพบุรี เป็นระบำโบราณคดีเพลงหนึ่ง เกิดขึ้นโดยเลียนแบบลักษณะท่าทางของเทวรูป ภาพเขียน ภาพแกะสลัก รูปปั้น รูปหล่อโลหะและภาพศิลาจำหลัก-ทับหลังประตู ตามโบราณสถาน ที่ขุดพบในสมัยลพบุรี ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๙ ศิลปวัตถุโบราณประเภทนี้อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ปราสาทหินพิมาย ในจังหวัดนครราชสีมา พระปรางค์สามยอดลพบุรี แล้วนำมากำหนดยุดสมัยตามความเก่าแก่ของโบราณสถานและโบราณวัตถุ แล้วมาสร้างเป็นระบำสมัยนั้นขึ้น ลีลาท่าทางของศิลปวัตถุเป็นภาพนิ่ง(ท่าตาย) เหมาะเป็นท่าเทวรูปมากกว่า เมื่ออาศัยหลักทางด้านนาฎศิลป์เข้ามาดัดแปลงเป็นท่ารำ ทำให้มีความอ่อนช้อย สวยงาม
ผู้ประดิษฐ์ท่ารำ คือ ครูลมุล ยมะคุปต์ ร่วมด้วยครูเฉลย ศุขะวณิช ผู้เชี่ยวชาญนาฎศิลป์ไทย กรมศิลปากร

นาฎยศัพท์ที่ใช้ประกอบการรำ

จีบมือ จีบมือแบบลพบุรี ได้รูปแบบมาจากลักษณะนิ้วของพระพุทธรูปในสมัยลพบุรี มีลักษณะดังนี้ คือ ปลายนิ้วหัวแม่มือจรดเหนือข้อแรกของปลายนิ้วชี้ นิ้วที่เหลือเหยียดตึง
ถองสะเอว แขนขวางอศอก ให้ข้อศอกจรดเอว หักข้อมือ ตั้งวง กดไหล่ขวา ศีรษะเอียงขวา มือซ้ายตั้งวงสูงระดับแง่ศีรษะ เป็นการถองสะเอวขวา ถ้าจะถองสะเอวข้างซ้ายก็ทำเช่นเดียวกัน
เดี่ยวเท้า เดี่ยวเท้าขวา ยืนด้วยเท้าซ้าย ยกฝ่าเท้าขวาขึ้นแนบกึ่งกลางด้านข้างขาพับซ้าย ถ้าจะเดี่ยวเท้าซ้ายก็ทำเช่นเดียวกัน
ตั้งวง ลักษณะการตั้งวงจะตั้งวงพิเศษ คือ ยกเขนตั้งวงสูงไม่ตกศอก ให้ปลายนิ้วจรดกลางศีรษะ
โขยกเท้า แบ่งเป็นโขยกเคลื่อนตัวกับโขยกเท้าอยู่กับที่ เป็นอาการแบบก้าวเท้า วางจมูกเท้าเคลื่อนตัว เช่น ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า ชักเท้าซ้ายตามไปวางด้วยจมูกเท้าใกล้ๆ และวางจมูกเท้านั้นแบ่งน้ำหนักมาด้วย เพื่อยันให้เท้าขวากระเถิบนิดหนึ่ง แล้วยกเท้าที่โขยก (คือเท้าที่ยันด้วยจมูกเท้า) ก้าวไปข้างหน้า วางเต็มเท้า ให้เท้าขวากระเถิบอยู่ก่อน แล้วเป็นฝ่ายยันด้วยจมูกเท้าบ้าง เท้าที่ยันด้วยจมูกเท้านี้ เรียกว่า เท้าโขยก
โหย่งหรือกระหย่ง หมายถึง ลักษณะการจรดปลายเท้าไม่ให้ฝ่าเท้าถูกพื้น ซึ่งท่ารำชนิดนี้มีทั้งท่ายืนและท่านั่ง เช่น โหย่งส้นเท้าซ้าย ใช้เท้าขวายืนเต็มเท้า ย่อเข่า ยกส้นเท้าซ้ายแตะกับข้อเท้าขวา

เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงระบำลพบุรี

๑. ซอสามสาย
๒. พิณน้ำเต้า
๓. ปี่ใน
๔. กระจับปี่
โทน

ระบำเทพบันเทิง


ระบำเทพบันเทิง

ระบำเทพบันเทิง เป็นระบำที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๙ เพื่อแทรกในละครในเรื่องอิเหนา ตอน ลมหอบ เป็นระบำเทพบุตร และนางฟ้า ฟ้อนรำบำเรอองค์ปะตาระกาหลา
ประดิษฐ์ท่ารำโดย หม่อมศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก (หม่อมต่วน) และอาจารย์ลมุล ยมะคุปต์ ประพันธ์คำร้องประกอบเพลงแขกเชิญเจ้าและยะวาเร็วโดย ศาสตราจารย์มนตรี ตราโมท ผู้แสดงแต่งกายชุดยืนเครื่อง

เหล่าข้าพระบาท ขอวโรกาส เทวฤทธิ์อดิศร

ขอฟ้อนกรายรำร่ายถวายกร บำเรอปิ่นอมรปะตาระกาหลา

ผู้ทรงพระคุณยิ่งบุญบารมี เพื่อเทวบดี สุขสมรมยา

เถลิงเทพพระสิมา พิมานสำราญฤทัย

สุรศักดิ์ประสิทธิ์ สุรฤทธิ์กำจาย

ทรงสราญพระกาย ทรงสบายพระทัย

ถวายอินทรีย์ต่างมาลีบูชา ถวายดวงตาต่างปทีปจำรัสไข

ถ้อยคำอำไพต่างธูปหอมจุณจันทน์ ถวายดวงจิตอัญชลิตวรคุณ

ที่ทรงการุณย์ผองข้ามาแต่บรรพ์ ถวายชีวันรองบาทจนบรรลัย

สุรศักดิ์ประสิทธิ์ สุรฤทธิ์กำจาย

ทรงสราญพระกาย ทรงสบายพระทัย

ร่วมกันร้องทำนองลำนำ มาฟ้อนมารำให้รื่นเริงใจ (ซ้ำ)

ให้พร้อมให้เพรียงเรียงประดับ เปลี่ยนสับท่วงทีหนีไล่

เวียนไปได้จังหวะกัน อัปสรฟ้อนส่ายกรีดกรายออกมา

ฝ่ายฝูงเทวาทำท่ากางกั้น (ซ้ำ) เข้าทอดสนิทไม่บิดไม่ผัน (ซ้ำ)

ผูกพัน ผูกพันสุขเกษม ปลื้มเปรมปลื้มเปรมปรีดา

ระบำตารีกีปัส


ระบำตารีกีปัส

ตารีกีปัสเป็นระบำที่ต้องอาศัยพัดเป็นองค์ประกอบสำคัญ เป็นการแสดงที่แพร่หลายในหมู่ชาวไทยมุสลิม โดยเฉพาะในจังหวัดปัตตานี และได้ทำชื่อเสียงให้กับจังหวัดปัตตานี เมื่อคัดเลือกการแสดงชุดนี้ใช้แสดงในงานเปิดกีฬาเขต ครั้งที่ ๑๔ ซึ่งจังหวัดปัตตานีเป็นเจ้าภาพ
ลีลาของการแสดง อาจจะมีพลิกแพลงแตกต่างกันไป สำหรับการแสดงชุดนี้ ได้ปรับปรุงท่ารำ เพื่อให้เหมาะสมกับการแสดงที่เป็นหญิงล้วน
เครื่องดนตรีประกอบการแสดง ได้แก่ ไวโอลิน แมนตาลิน ขลุ่ย รำมะนา ฆ้อง มาลากัส บทเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง เพลงตารีกีปัส เป็นเพลงที่ไม่มีเนื้อร้อง บรรเลงดนตรีล้วนๆ มีท่วงทำนองไพเราะอ่อนหวาน สนุกสนานเร้าใจ ความไพเราะของเพลงตารีกีปัส อยู่ที่การ Solo เสียงดนตรีทีละชิ้น

ระบำดาวดึงส์


ระบำดาวดึงส์

ระบำดาวดึงส์ เป็นระบำในละครดึกดำบรรพ์ เรื่อง สังข์ทอง ตอนที่ ๒ ตีคลี สันนิษฐานว่าน่าจะประดิษฐ์ขึ้นในช่วงระหว่างปี พ.ศ.๒๔๔๒-๒๔๕๒ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ละครดึกดำบรรพ์ของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศวิวัฒน์ได้รับความนิยมมาก บทร้องนั้นเป็นพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ท่ารำนั้นประดิษฐ์โดยหม่อมเข็มในเจ้าพระยาเทเวศน์ พระประดิษฐ์ไพเราะ (ตาด ตาตะนันท์) ควบคุมปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ (ซึ่งมีลักษณะการประสมวงเป็นรูปแบบเฉพาะ) หลวงเสนาะดุริยางค์ เป็นผู้ฝึกหัดวิธีขับร้อง บทร้องพรรณนาถึงสมบัติอมรินทร์ เพลงที่ใช้ประกอบคือลำตะเขิ่งและลำแขกเจ้าเซ็น ในชั้นหลังได้นำระบำนี้มาเล่นเป็นเอกเทศ และแทรกเพลงเหาะไว้เพื่อตัวละครรำออก การแสดงชุดนี้จะใช้ผู้แสดงตั้งแต่ ๒ คู่ขึ้นไป

ดาวดึงส์เทวโลกมโหฬาร เป็นที่อยู่สำราญฤทัยหรรษ์

สารพัดงามจริงทุกสิ่งอัน สารพันอุดมสมใจปอง

เทพบุตรผุดพรรณโฉมยง งามทรงอาภรณ์ไม่มีหมอง

นางอัปสรงอนสงวนนวลละออง งามทรงเครื่องทองและเพชรนิล

สมเด็จพระอัมรินทร์ปิ่นมงกุฎ ทรงวชิราวุธธนูศิลป์

รักษาเทวสีมาเป็นอาจิณ อสุรินทร์อรีไม่บีฑา (ซ้ำ)

อันอินทรปราสาททั้งสาม (ซ้ำ) ทรงงามสูงเงื้อมกลางเวหา

สี่มุขหุ้มมาศสะอาดตา ใบระกาแกมแก้วประกอบกัน

ช่อฟ้าช้อยเฟื้อยเฉื่อยชด (ซ้ำ) บราลีที่ลดมุขกระสัน (ซ้ำ)

มุขเด็ดทองคาดกนกพัน บุษบกสุวรรณชามพูนุท (ซ้ำ)

ราชยานเวชยันตร์รถแก้ว (ซ้ำ) เพริศแพร้วกำกงอลงกต (ซ้ำ)

แอกงอนอ่อนสลวยชวยชด (ซ้ำ) เครือขดช่อตั้งบัลลังก์ลอย

รายรูปสิงห์อัดหยัดยัน สุบรรณจับนาคหิ้วเศียรห้อย (ซ้ำ)

ดุมพราววาววับประดับพลอย แปรกแก้วกาบช้อยสะบัดบัง

เทียมด้วยสิงธพเทพบุตร ทั้งสี่บริสุทธิ์ดั่งสีสังข์

มาตลีอาจขี่ขับประดัง ให้รีบรุดสุดกำลังดังลมพา

ระบำกฤดาภินิหาร




ระบำกฤดาภินิหาร

ระบำกฤดาภินิหาร ประดิษฐ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๖ เพื่อใช้ประกอบการแสดงละครเรื่อง เกียรติศักดิ์ไทย ในสมัยพระอนุมานราชธนเป็นอธิบดีกรมศิลปากร (หลังยุคละครหลวงวิจิตรวาทการ) ประดิษฐ์ท่ารำโดยหม่อมต่วน ภัทรนาวิก และนางลมุล ยมะคุปต์ ประพันธ์บทโดย สุดา บุษปฤกษ์ ในครั้งแรกนั้นใช้วงดนตรีสากลของกรมศิลปากรบรรเลงประกอบการแสดง ภายหลังจึงใช้วงปี่พาทย์ไม้นวม และแยกออกเป็นชุดระบำเบ็ดเตล็ดที่นิยมใช้ในการอวยพรในงานมงคลต่างๆ เพลงที่ใช้ประกอบคือเพลงรัวดึกดำบรรพ์ ครวญหา จีนถอนและจีนรัว เนื้อเพลงกล่าวยอพระเกียรติสมเด็จพระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระราชกฤดาภินิหารอันยิ่งใหญ่ของไทย ที่พระเกียรติลือกระฉ่อนถึงเทวดาชั้นฟ้า ผู้แสดงชายหญิงแต่งกายยืนเครื่องพระนางสมมติเป็นเทวดา นางฟ้า รำใช้บทตามเนื้อร้องในตอนท้ายจึงถือพานดอกไม้ออกโปรย แสดงการอวยชัยให้พร
การแต่งกาย ยืนเครื่องพระนาง
การแสดง ใช้ผู้แสดง ๑-๒ คู่
โอกาสที่ใช้ในการแสดง ในงานพิธีมงคลและงานเบ็ดเตล็ด

ปราโมทย์แสนองค์อัปสรอมรแมนแดนสวรรค์

ยินกฤดาภินิหารมหัศจรรย์เกียรติไทยลั่นลือเลื่องเรืองรูจี

ต่างเต็มตื้นชื่นชมโสมนัสโอษฐ์เอื้อนอรรถอวยพรสุนทรศรี

แจ้วจำเรียงเสียงเพลงสดุดีดนตรีรี่เรื่อยประโคมประโลมลาน

แล้วลีลาศเริงรำระบำร่ายกรกรีดกรายโปรยมาลีสีประสาน

พรมน้ำทิพย์ปรุงปนสุคนธารจักรวาลฉ่ำชื่นรื่นรมย์ครัน

ฟ้อนเล็บ


ฟ้อนเล็บ

ฟ้อนเล็บ เป็นการฟ้อนของชาวไทยภาคเหนือ การแสดงจะมีดนตรีบรรเลงประกอบ จะมีเนื้อร้องหรือไม่มีเนื้อร้องก็ได้ โอกาสที่แสดง ในงานเทศกาลหรืองานนักขัตฤกษ์ต่าง ๆ
ผู้แสดง ฟ้อนแต่ละชุดจะใช้จำนวนคนแตกต่างกันไป นิยมกันมี ๔ คู่ ๖ คู่ หรือ ๘ คู่
การแต่งกาย จะแต่งกายแบบไทยชาวภาคเหนือสมัยโบราณ คือ เกล้าผมทัดดอกไม้และอุบะ นุ่งผ้าตามแบบชาวเหนือ สวมเสื้อทรงกระบอกแขนยาว คอกลม ห่มสไบเฉียง นุ่งผ้าซิ่นลายขวาง และสวมเล็บมือยาวทั้ง ๘ นิ้ว เว้นแต่นิ้วหัวแม่มือ

การแสดง ผู้แสดงจะร่ายรำตามทำนองเพลงที่เชื่องช้า ส่วนการใช้ท่าฟ้อนเล็บนั้น ช่างฟ้อนมักจะจำต่อๆ กันมา เป็นท่าฟ้อนดั้งเดิมของชาวเหนือ คือ
๑. ท่าพายเรือ
๒. ท่าบิดบัวบาน
๓. ท่าหย่อน

ต่อมาเมื่อนาฎศิลป์ทางภาคกลางแพร่มาสู่ภาคเหนือ การฟ้อนเล็บก็มีการปรับวิธีการฟ้อนให้เข้ากับท่ารำแม่บท เพิ่มท่ารำให้มากขึ้นและแตกต่างกันไป

ดนตรี เครื่องดนตรีที่ใช้ในการฟ้อนเป็นขบวนกลองยาว ซึ่งเป็นดนตรีของชาวภาคเหนือ ได้แก่ กลองแอร์ กลองตะโล้ดโป๊ด ฉาบ ฆ้องโหม่งใหญ่ ฆ้องโหม่งเล็ก ฉิ่ง ปี่ เวลาดนตรีบรรเลง เสียงปี่ดังไพเราะเยือกเย็นมาก ท่วงทำนองเชื่องช้า เสียงกลองจะตีดัง ตะ ตึ่ง นง ตึ่ง ต๊ก ถ่ง อย่างนี้เรื่อยไป ส่วนช่างฟ้อนก็จะฟ้อนช้าๆ ไปตามลีลาของเพลง

ฟ้อนผาง


ฟ้อนผาง

ฟ้อนผางเป็นศิลปะการฟ้อนที่มีมาแต่โบราณ เป็นการฟ้อนเพื่อบูชาองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ลีลาการฟ้อนดำเนินไปตามจังหวะของการตีกลองสะบัดชัย มือทั้งสองจะถือประทีปหรือผางผะตี้บ แต่เดิมใช้ผู้ชายแสดง ต่อมานายเจริญ จันทร์เพื่อน ผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ ดำริให้คณะครูอาจารย์หมวดวิชานาฏศิลป์พื้นเมืองเป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำให้เหมาะสมกับผู้หญิงแสดง โดยได้รับความอนุเคราะห์จากนายมานพ ยาระณะศิลปินพื้นบ้านเป็นผู้ถ่ายทอดท่าฟ้อนและให้คำแนะนำเกี่ยวกับท่ารำ

โดยมีนายปรีชา งามระเบียบอาจารย์ 2 ระดับ 7รักษาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่(ฝ่ายกิจกรรม) เป็นผู้ควบคุมการประดิษฐ์ท่ารำ การแต่งกายและทำนองเพลง

ลักษณะการแต่งกายแต่งแบบชาวไทยลื้อ สวมเสื้อป้ายทับข้าง เรียกว่า เสื้อปั๊ด หรือ เสื้อปั๊ดข้าง ขลิบริมด้วยผ้าหลากสีเป็นริ้ว นุ่งผ้าซิ่นเป็นริ้วลายขวาง ประดับด้วยแผ่นเงิน รัดเข็มขัดเงินเส้นใหญ่ ติดพู่แผงเงิน ใส่ต่างหูเงินและสวมกำไลข้อมือเงิน

สำหรับทำนองเพลงที่ใช้ประกอบการแสดงชุดฟ้อนผางให้ชื่อว่า เพลงฟ้อนผาง แต่งโดยนายรักเกียรติ ปัญญายศ อาจารย์ 3 ระดับ 8 หมวดวิชาเครื่องสายไทยวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่

ฟ้อนเงี้ยว


ฟ้อนเงี้ยว

ฟ้อนเงี้ยว เป็นการแสดงพื้นเมืองของชาวเขาเผ่าหนึ่ง เรียกว่า เงี้ยว มีภูมิลำเนาอยู่ทางภาคเหนือ ของไทย อาจารย์ลมุล ยมะคุปต์ได้นำลีลาฟ้อนเงี้ยวมาปรับปรุงขึ้นใหม่ ในหลักสูตรวิชานาฏศิลป์ เมื่อปีพุทธศักราช ๒เทพดาสิ่งศักดิ์ทั้งหลายมาปกป้องอวยชัยให้พร บทร้องของฟ้อนเงี้ยวมีลักษณะเป็นบทอวยพร อาราธณาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

การแต่งกาย แต่งได้ทั้งแบบชาวเขาและแบบที่กรมศิลปาการประดิษฐ์ขึ้น แสดงได้ทั้งชุดหญิงชาย และหญิงล้วน ผู้แสดงจะถือกิ่งไม้ในมือทั้งสองเพื่อปัดเป่าสิ่งที่ไม่ดี ขออวยชัยพุทธิไกรจ้วยก๊ำ

ทรงคุณเลิศล้ำไปทุกทั่วตัวตน

จงได้ฮับสรรพมิ่งมงคล

นาท่านนาขอเตวาจ้วยฮักษาเตอะ

ขอหื้ออยู่สุขขาโดยธรรมานุภาพเจ้า

เทพดาจ้วยเฮาหื้อเป๋นมิ่งมงคล

สังฆานุภาพเจ้าจ้วยแนะนำผล

สรรพมิ่งทั่วไปเนอ

มงคลเทพดาทุกแห่งหน

ขอบันดลจ้วยก๊ำจิ่ม

มงแซะมงแซะ...แซะมงตะลุ่มตุ้มมง

รำถวายพระพรวันแม่แห่งชาติ




รำถวายพระพรวันแม่แห่งชาติ

เฉลิมชนมพรรษาราชินี พระมิ่งแม่นาถนารีศรีสยาม

พระทรงคุณจริยาสง่างาม ลือพระนามเมตตาธรรมล้ำอำไพ

พระกรุณาชาวไทยในทุกแคว้น กันดารแดนกลับฟื้นฟูดูสดใส

ทรงน้อมนำกิจกรรมทำการณ์ไกล ศิลปาชีพจากพระทัยได้ปราณี

...................................................................................

ราษฎร์ต้องทุกข์อดอยากลำบากกาย พระทรงช่วยผ่อนคลายได้สุขศรี

ต่างแซ่ซ้องสรรเสริญสดุดี ทั่วปฐพีเทิดบุญญาสาธุการ

วโรกาสอันมงคลดลสมัย ถวายชัยองค์บวรสุนทรสนาม

ขอพระแม่จอมไผทได้สราญ ทรงพระเจริญยิ่งยืนนานทุกกาลเทอญ

..................................................................................

เซิ้งโปงลาง


เซิ้งโปงลาง

เซิ้งโปงลาง เป็นการแสดงของชาวไทยภาคอีสาน นิยมเล่นกันมากในจังหวัดกาฬสินธุ์ การแสดงจะมีทั้งหญิงและชาย ใช้ท่ารำที่ประดิษฐ์ขึ้นตามทำนองเพลง อันเกิดจากความบันดาลใจ ด้วยลีลาแคล่วคล่องว่องไว ใช้ดนตรีโปงลาง ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ร้อยต่อกันเหมือนระนาดแต่ใหญ่กว่า ใช้ผู้ตีสองคน คนตีคลอเสียงประสาน เรียกว่า ตีลูกเสิฟ และอีกคนตีเป็นทำนอง เรียกว่า ตีลูกเสพ มีจังหวะที่เร้าใจและสนุกสนาน เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของศิลปวัฒนธรรมของภาคอีสาน

เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง

๑. โปงลาง
๒. แคน
๓. พิณ
๔. ซ่อ
๕. ฉาบ
๖. ฉิ่ง
๗. กลอง

เซิ้งกระติบ


เซิ้งกระติบ


เซิ้งกระติบข้าว เป็นการละเล่นพื้นเมืองของชาวภูไท ซึ่งเป็นชาวไทยเผ่าหนึ่งที่มีเชื้อสายสืบต่อกันมาช้านาน ในดินแดนทางภาคอีสานของไทย เช่น ในเขตจังหวัดสกลนคร และจังหวัดข้างเคียง นิยมเล่นกันในโอกาสรื่นเริงวันนักขัตฤกษ์ต่างๆ การแสดงจะเริ่มด้วยชาวภูไทฝ่ายชายนำเอาเครื่องดนตรี และเครื่องประกอบจังหวะหลายอย่าง ได้แก่ แคน เป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งใช้ปากเป่าเป็นทำนองเพลง แก๊บ (กรับ) กลองเถิดเทิง กลองแต๊ะ โหม่ง และฉาบ มาร่วมกันบรรเลงเพลงที่มีทำนองและจังหวะรุกเร้า ต่อจากนั้นเหล่าสตรีชาวภูไทในวัยต่างๆ ซึ่งมีกระติบข้าว แขวนสะพายอยู่ข้างตัว ออกมาเต้นเซิ้งเป็นการแสดงอากัปกิริยาของสตรีชาวภูไท ขณะเมื่อสะพายกระติบข้าวเพื่อนำอาหารไปส่งให้แก่สามี และญาติพี่น้องที่ออกไปทำงานอยู่นอกบ้าน

เครื่องดนตรี ที่ใช้ประกอบจังหวะ ได้แก่ กลองแต๊ะ กลองยาว แคน ฆ้องโหม่ง ฉิ่ง ฉาบ และกรับ

จังหวะ ป๊ะ เพิ่ง ป๊ะ เพิ่ง ป๊ะ เพิ่ง เพิ่ง

การแต่งกาย แต่งกายแบบพื้นเมืองภาคอีสาน นุ่งผ้าซิ่น มีเชิงยาวคลุมเข่าเล็กน้อย สวมเสื้อแขนกระบอก คอกลมหรือคอปิด ห่มสไบทับเสื้อ ประดับด้วยเครื่องประดับต่างๆ เกล้าผมมวยสูงทัดดอกไม้

อุปกรณ์การแสดง กระติบข้าว หรือกล่องใส่อาหารสานด้วยไม้ไผ่

ชุมนุมเผ่าไทย


ชุมนุมเผ่าไทย

ระบำชุมนุมเผ่าไทย เป็นการแสดงที่นำมาจากการแสดงละครประวัติศาสตร์ เรื่องอานุภาพแห่งความเสียสละ จากบทประพันธ์ของฯพณฯ พลตรีหลวงจิตรวาทการ ผู้แสดงจะแต่งกายตามแบบชนชาติไทยเผ่าต่างๆได้แก่ ไทยกลาง ไทยล้านนา ไทยใหญ่ ไทยลานช้าง สิบสองจุไทย และไทยอาหม
การแสดงจะรำออกมาทีละเผ่า มีเนื้อร้องและท่ารำ ดังนี้

นี่พี่น้องของเราไทยลานนา อยู่ด้วยกันนานมาแต่ก่อนเก่า

ได้ร่วมแรงร่วมใจสร้างไทยเรา เป็นพงศ์เผ่าญาติสนิทและมิตรแท้

นี่ไทยใหญ่อยู่ใกล้ๆทางทิศเหนือ เป็นชาติเชื้อพี่ชายของไทยแน่

ยังรักษาความเป็นไทยไม่ผันแปร ขยายแผ่สาขาตระกูลไทย

นี่คือไทยลานช้างอยู่ข้างเคียง เคยร่วมเรียงอยู่เป็นสุขทุก

แม่น้ำโขงกั้นเขตประเทศไว้ แต่ไม่กั้นดวงใจที่รักกัน

นี่พี่น้องชาวสิบสองจุไทย เป็นพี่ใหญ่แน่แท้ไม่แปรผัน

ต้นเชื้อสายไทยน้อยแหล่งสำคัญ ครั้งสมัยดึกดำบรรพ์ขุนบรม

พี่น้องพวกสุดท้ายที่เข้ามา ก็เป็นไทยชื่อว่าไทยอาหม

ล้วนเลือดเนื้อเชื้อไทยใฝ่นิยม ให้อาณาประชาคมไทยสมบูรณ์